หลักการต่อเติมบ้านที่ถูกต้อง มีปัจจัยใดบ้าง เพื่อค้นหาผู้ว่าจ้างต่อเติมบ้านราคาประหยัดและถูกกฎหมายที่สุด สามารถดูข้อมูลการต่อเติมบ้านที่พร้อมเสนอความรู้การต่อเติมสิ่งปลูกสร้างทั่วไป ให้ผู้ที่สนใจปรับแต่งบ้านเพิ่มเติม สามารถดูความรู้ได้ในบทความนี้
การต่อเติมบ้านคืออะไร ตามพรบ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
กฎหมายการต่อเติมบ้าน ตามพรบ. “ควบคุมอาคาร” มาตรา 4 พ.ศ. 2522 ได้กำหนดไว้ว่า สิ่งปลูกสร้างประเภท บ้าน ตึก โรงรถ ใต้ถุน ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน และสถานที่สาธารณะตามชุมชน หมู่บ้าน หรือพื้นที่ส่วนกลาง สำหรับบุคคลเข้าไปใช้งานได้ สามารถต่อเติมบ้านเพื่อเพิ่ม ลดขนาด ขยายสัดส่วนของพื้นที่จากโครงสร้างดั้งเดิมภายในที่อยู่ ภายใต้กฎหมายกระทรวงอย่างถูกกฎหมาย
ข้อควรรู้ที่ต้องทำความเข้าใจก่อนการต่อเติมบ้าน
ภายใต้พระราชบัญญัติ ตามพรบ. “ควบคุมอาคาร” มาตรา 4 พ.ศ. 2522 จะดำเนินการต่อเติมบ้านและสิ่งปลูกสร้างสาธารณะทุกรูปแบบภายใต้การดำเนินงานที่มีความปลอดภัย หากเกิดอัคคีภัย ผู้ดำเนินงานในขั้นตอนการต่อเติมบ้านต้องหยุดการสร้างทันที เพื่อป้องกันการเผาไหม้ลุกลามไปยังบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง
ระยะห่างระหว่างอาคารที่ก่อสร้างต้องมีระยะเท่าไหร่จึงจะต่อเติมบ้านได้
ข้อกำหนดต่อเติมบ้านระหว่างอาคารประเภทชั้นเดียว กับบ้านที่มีความสูงไม่เกิน 9 เมตร เช่น ข้างบ้าน , หลังบ้าน , ด้านข้าง หรือด้านหน้า เพื่อปลูกสร้างห้องครัว โรงรถ ห้องใต้ถุน และห้องเสริมอื่นๆ ภายในอาคาร มีกฎการใช้ผนัง 3 แบบดังนี้
ผนังแบบทึบ (กำแพงไม่มีช่องเปิด) ต้องมีระยะห่างจากแนวเขตที่ดินข้างเคียงไม่เกิน 50 เซนติเมตร
ผนังแบบช่องเปิด (บล็อคแก้ว , ช่องลม , หน้าต่าง) ต้องมีระยะห่างจากแนวเขตที่ดินข้างเคียงไม่เกิน 2.00 เมตร
ผนังระเบียงชั้นบน (พื้นที่ระเบียงที่ยื่นใช้สอย) ต้องมีระยะห่างจากแนวเขตที่ดินข้างเคียงไม่เกิน 2.00 เมตร
ระยะห่างระหว่างอาคารที่ก่อสร้างกับถนนสาธารณะ
การต่อเติมบ้านระหว่างอาคารที่ติดกับถนนสาธารณะ เพื่อสร้างห้องรับแขก หรือห้องอเนกประสงค์ จะมีกฎหมายบังคับเกี่ยวกับแนวร่นอาคารจากทางสาธารณะ โดยที่กฎ “ระยะร่น” ใช้กับอาคารที่ต้องมีความสูงไม่เกิน 3 ชั้น หรือไม่เกิน 10 เมตร พื้นที่รวมไม่เกิน 1,000 ตารางเมตร ดังนี้
ความกว้าง
ถนนสาธารณะมีหน้ากว้างไม่เกิน 6.00 เมตร ต้องเว้นระยะร่นตัวอาคารให้ห่างจากกึ่งกลางถนนสาธารณะ 3.00 เมตร
ถนนสาธารณะมีหน้ากว้างไม่เกิน 6.00 เมตร ต้องเว้นระยะร่นที่เว้นว่างระหว่างตัวอาคารกับเขตที่ดินด้านหน้าทางสาธารณะ 3.00 เมตร
ความสูง
อาคารสูงไม่เกิน 3 ชั้น พื้นที่ไม่เกิน 300 ตารางเมตร ต้องร่นจากเขตถนน 0.50 เมตร
อาคารสูงไม่เกิน 3 ชั้น พื้นที่เกิน 300 ตารางเมตร ต้องร่นจากเขตถนน 1 เมตร
สัญญาว่าจ้างก่อสร้างสำหรับการต่อเติมบ้าน
การดำเนินสัญญาว่าจ้างต่อเติมบ้าน ต้องเป็นไปตามในเงื่อนไขทั้งฝ่ายผู้ว่าจ้างและผู้ถูกจ้าง โดยผู้ว่าจ้างสามารถกำหนดการชำระเงินแบบงวด หรือมัดจำ ตามความเห็นชอบของผู้ถูกจ้าง จากนั้นให้ลงนามเป็นลายลักษณ์อักษรในเอกสารทำข้อตกลงทั้งคู่ เพื่อแสดงจุดยืนการทำสัญญานี้
เทคนิคต่อเติมบ้านในการก่อสร้าง
ทุกๆ การต่อเติมบ้านใหม่ ผู้ก่อสร้างจะตรวจเช็กสภาพเสาเข็มใต้พื้นบ้านเดิม เพื่อเพิ่มจำนวนเสา ก่อนดำเนินการปรับแต่งบ้านทุกครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งปลูกสร้างที่ถูกต่อเติมบ้านใหม่ ไปทรุดเสาเข็มเดิมของตัวบ้านให้พังทลายลง
รอยต่อระหว่างอาคารเดิมกับหลังคาที่จะต่อเติมบ้าน
บริเวณส่วนที่ต่อเติมบ้านทรุดตัว เกิดรอยร้าว และรูรั่ว ทางผู้ก่อสร้างจะทำการกรีดร่องใต้ผนังฉาบตลอดแนวหลังอาคาร จากนั้นใช้แผ่น Flashing อุดร่องผนังด้วยการทาโพลียูรีเทน (Polyurethane ) เข้าไป เพื่อป้องกันน้ำฝนแทรกซึมเข้าไปในผนังภายในอาคาร
ต่อเติมบ้านอย่างไรให้ถูกกฎหมาย
แบบต่อเติมบ้านประเภท บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม บ้านเก่า หรือบ้านยกสูง ควรได้รับอนุญาตความยินยอมจากบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง รวมถึงดำเนินการตามกฎหมายการต่อเติมบ้าน ดังนี้
ต้องทำเรื่องขออนุญาตกับเจ้าพนักงาน
การต่อเติมบ้านไม่ว่าจะเป็นเพิ่มบ้าน 2 ชั้น หน้าบ้าน เทอเรส ชั้นครึ่ง และการปรับแต่งขยาย ลด บริเวณพื้นที่อาคาร จะต้องทำเรื่องต่อเติมบ้านกับพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก่อนทุกครั้ง
ต้องมีสถาปนิกและวิศวกรคอยคุมการต่อเติม
การดำเนินต่อเติมบ้าน เจ้าของอาคารต้องมีแบบแปลนบ้านที่ได้รับการรับรองจากสถาปนิกผู้ออกแบบและวิศวกรผู้ควบคุมการก่อสร้าง เพื่อเป็นข้อมูลในการเปลี่ยนวัสดุระหว่างต่อเติมบ้านใหม่ เช่น กระเบื้อง ไม้ ปูน เหล็ก และกระจก ในการคำนวณความกว้าง ยาว ขนาดน้ำหนัก ของวัสดุในการต่อเติมบ้าน
ต้องทำตามกฎหมายระยะร่นและที่เว้นว่าง
การต่อเติมบ้านทุกครั้งต้องอยู่ภายใต้พรบ. “ควบคุมอาคาร” มาตรา 4 พ.ศ. 2522 ดังนี้
ขอบเขตตัวอาคารต้องไม่เกิน 70% ของที่ดิน โดยนับจากชั้นที่กว้างที่สุด
ระยะร่นระหว่างตัวอาคารกับจุดกึ่งกลางถนนสาธารณะ ต้องไม่เกิน 3 เมตร
ช่องเว้นว่างระหว่างตัวอาคารกับเขตที่ดินด้านหน้า ต้องไม่เกิน 3 เมตร ด้านหลังและด้านข้างไม่เกิน 2 เมตร
ต้องได้รับความยินยอมจากเพื่อนบ้าน
การต่อเติมบ้านในละแวกเพื่อนบ้าน จะสร้างมลภาวะทางเสียง กลิ่น และสภาพแวดล้อมโดยรอบแน่นอน ดังนั้นเจ้าของบ้านควรขอความยินยอมจากเพื่อนบ้านก่อน ต้องทำเป็นหนังสือแบบลายลักษณ์อักษร เพื่อแสดงจุดยืนว่าทั้งสองฝ่ายยินดีที่จะทำตามข้อตกลงนี้
ต่อเติมบ้านอย่างไรให้ประหยัดเงินหลักแสน และถูกกฎหมาย อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://techwealth99.com/