ผู้เขียน หัวข้อ: โรคเบาหวาน ที่ไม่หวานสมชื่อ  (อ่าน 212 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 361
  • ลงประกาศฟรีออนไลน์ โพสฟรี โพสต์ขายของฟรี ลงโฆษณาสินค้าฟรี โฆษณาสินค้าฟรี สมัครสมาชิก ขายรถมือสอง
    • ดูรายละเอียด
โรคเบาหวาน ที่ไม่หวานสมชื่อ
« เมื่อ: วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2024, 22:04:38 น. »
โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง ที่ส่งผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพอื่นๆ มากมายทั้ง ฟันและเหงือก ตา ไต หัวใจ หลอดเลือดแดง ทุกคนจึงควรป้องกันตนเอง เพื่อไม่ให้เกิดโรคเบาหวาน แต่หากใครไม่สามารถป้องกันตนเองได้หรือเป็นตามกรรมพันธุ์ ก็ควรที่จะควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย และรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม เพื่อที่จะได้อยู่กับโรคเบาหวานได้อย่างมีความสุข


โรคเบาหวานคืออะไร

โรคเบาหวาน คือ ภาวะที่มีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงตั้งแต่ 126 มก./ดล. (โดยวัดได้จากตอนหลังงดอาหาร 8 ชั่วโมง) เนื่องจากการขาดอินซูลินหรือดื้อต่อฤทธิ์ของอินซูลิน ทำให้ร่างกายไม่สามารถเผาผลาญน้ำตาลไปใช้ได้หมด จึงเหลือน้ำตาลตกค้างในกระแสเลือดมาก ซึ่งหากเกิดขึ้นเป็นประจำจะทำให้เป็นโรคเบาหวาน และในระยะยาวจะมีผลในการทำลายหลอดเลือด ทำลายระบบประสาทส่วนปลาย และนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนรุนแรงต่างๆ ได้

โรคเบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

    เบาหวานประเภทที่ 1 พบได้น้อย ประมาณร้อยละ 5 ของผู้ป่วยเบาหวานไทย ประเภทนี้เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ จึงต้องฉีดอินซูลินอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะขาดอินซูลิน และไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงจนเกิดไป เพราะอาจหมดสติ และเสียชีวิตได้อย่างเฉียบพลัน มักพบในเด็กและวัยรุ่น
    เบาหวานประเภทที่ 2 พบได้มาก ประมาณร้อยละ 95 ของผู้ป่วยเบาหวานไทย และส่วนใหญ่จะเป็นในกลุ่มคนอายุ 40 ปีขึ้นไป เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินไปใช้ได้อย่างเพียงพอ และร่างกายเกิดภาวะดื้ออินซูลิน ประเภทนี้มักไม่อาการอย่างเฉียบพลัน แต่หากขาดการควบคุม ก็สามารถนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังที่เป็นอันตรายอย่างเฉียบพลันได้ ควรจะควบคุมน้ำหนัก ควบคุมอาหาร และออกกำลังกาย


ฮอร์โมนอินซูลินมีความสำคัญต่อร่างกายอย่างไร

อินซูลินเป็นฮอร์โมนสำคัญตัวหนึ่งของร่างกาย เพราะร่างกายคนเรานั้นรับประมานอาหารเข้าไปทุกวัน มีการเปลี่ยนแป้ง , โปรตีนให้เป็นน้ำตาล หากไม่มีอินซูลิน ก็จะส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานให้ส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ และยังทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเช่นกัน อีกทั้งยังทำให้เกิดโรคเบาหวานได้ อินซูลินสร้างและหลั่งจากเบต้าเซลล์ของตับอ่อน ทำหน้าที่เป็นตัวพาน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่เนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย เพื่อเผาผลาญเป็นพลังงานในการดำเนินชีวิต

ใครบ้างที่เสี่ยงเบาหวาน

    อายุเกิน 40 ปีขึ้นไป
    มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน
    เป็นผู้มีน้ำหนักเกิน หรือมีดัชนีมวลกายมากกว่า 25
    มีความดันโลหิต หรือมีน้ำตาลในเลือดสูง (เป็นโรคใดโรคหนึ่ง ความเสี่ยงต่ออีกโรคก็เพิ่มขึ้น) มีระดับไขมันในเลือดสูง
    สตรีที่มีประวัติเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือน้ำหนักบุตรแรกคลอดมากกว่า 4 กก.
    ไม่ออกกำลังกาย ดื่มสุรา และ/หรือสูบบุหรี่


คุณเป็นเบาหวานหรือไม่

ตรวจว่าเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ ทำได้โดยการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดซึ่งเป็นวิธีที่ง่าย และ ได้ผลดีโดยอาศัยเกณฑ์การวินิจฉัยดังนี้

    มีระดับน้ำตาลในเลือดขณะงดอาหารและเครื่องดื่มอย่างน้อย 8 ชั่วโมง มากกว่าหรือเท่ากับ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
    มีอาการของโรคเบาหวาน ร่วมกับระดับน้ำตาลในเลือดเวลาใดก็ตามมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
    มีระดับน้ำตาลในเลือด มากกว่าหรือเท่ากับ 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ณ 2 ชั่วโมง ภายหลังทดสอบความทนต่อน้ำตาลกลูโคส 75 กรัมที่รับประทานเข้าไป
    มีระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (HbA1c) มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 6.5 ขึ้นไป
    กลุ่มที่เจาะน้ำตาลหลังงดน้ำงดอาหารแล้วได้ค่า 100-125mgคือถือว่ามีความผิดปกติแต่ยังไม่เป็นเบาหวาน ซึ่งถ้าไม่ควบคุมและออกกำลังกาย มีความเสี่ยงที่จะเป็เบาหวานในอนาคต

สาเหตุของการเกิดโรคเบาหวาน

    น้ำหนักเกิน ความอ้วน ขาดการเคลื่อนไหว ขาดการออกกำลังกาย
    กรรมพันธุ์
    ความเครียดเรื้อรัง
    อายุที่มากขึ้น มีโอกาสเป็นเบาหวานได้มากขึ้น
    โรคของตับอ่อน เช่น ตับอ่อนอักเสบ ได้รับการผ่าตัดตับอ่อน
    การติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น หัด หัดเยอรมัน คางทูม ซึ่งมีผลต่อตับอ่อน
    การได้รับยาบางชนิด ทำให้มีการสร้างน้ำตาลมากขึ้นหรือการตอบสนองของอินซูลินได้ไม่ดี
    การตั้งครรภ์ เนื่องจากมีการสร้างฮอร์โมนจากรกหลายชนิด ซึ่งมีผลยับยั้งการทำงานของอินซูลิน

อาการของเบาหวานที่ต้องสังเกต

    ปัสสาวะบ่อยทั้งกลางวันและกลางคืน
    กระหายน้ำ เนื่องจากสูญเสียน้ำมากจากการปัสสาวะ
    เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย และน้ำหนักลดเนื่องจากร่างกายนำน้ำตาลไปใช้ไม่ได้
    หิวบ่อย รับประทานเก่งขึ้น
    คันตามตัว ติดเชื้อได้ง่าย เป็นเชื้อรา ตกขาวบ่อย
    ตาพร่า เห็นภาพไม่ชัด เห็นภาพซ้อน
    ขาชาอันเนื่องมาจากปลายประสาทเสื่อม
    น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
    เป็นแผลแล้วหายยาก

ผลกระทบของโรคต่อร่างกาย

อาการเฉียบพลัน คือ อาจมีอาการหมดสติ มีอันตรายถึงชีวิต อาการแทรกซ้อนทำให้เกิดภาวะไตวาย ไตเสื่อม ระบบประสาทชา แผลหายยาก แผลเน่า ลุกลามจนต้องตัดอวัยวะ ตามัว จอตาเสื่อม สมรรถภาพทางเพศเสื่อม อัมพาต โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง

สถิติ

    ในไทยพบผู้ป่วย 3.5 ล้านคน
    มูลค่าการรักษา 47,596 ล้านบาทต่อปี


โรคแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

    ตา อาจเป็นต้อกระจกก่อนวัย ประสาทตาหรือจอตาเสื่อม ทำให้ตามัวลงเรื่อยๆ และอาจทำให้ตาบอดในที่สุด
    เท้า เบาหวานไปที่เส้นประสาท ทำให้มีอาการชาปลายมือปลายเท้า เกิดแผลได้ง่ายและ อาจก่อให้เกิดความพิการ
    ไต มักจะเสื่อม จนเกิดภาวะไตวาย
    เป็นการติดเชื้อได้ง่ายเนื่องจากภูมิต้านทานต่ำ
    ภาวะคีโตซีส ผู้ป่วยมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน กระหายน้ำมาก หายใจหอบลึก มีไข้ กระวนกระวาย
    ผนังหลอดเลือดแดงแข็ง ทำให้เป็นความดันโลหิตสูง อัมพาต หัวใจขาดเลือด

การรักษา

โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง ซึ่งยังไม่มีทางรักษาให้ขายขาด การรักษาจึงเพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงเกณฑ์ปกติให้มากที่สุด รวมถึงความดันโลหิต ไขมันในเส้นเลือด และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน ในการรักษาผู้ป่วยจึงต้องพบแพทย์ตามกำหนด ติดตามอาการเป็นระยะๆ

สิ่งสำคัญที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรปฏิบัติ

    เลือกรับประทานอาหารจำพวกแป้งจากธัญพืชที่ไม่ขัดสี ในปริมาณที่พอเหมาะ
    พยายามงดอาหารรสจัด ไม่ว่าจะเป็นหวาน มัน หรือเค็ม
    รับประทานผัก และผลไม้ที่ไม่หวานจัดเพื่อเพิ่มกากใยอาหาร
    ควบคุมน้ำหนัก
    งดสูบบุหรี่ และงดดื่มสุรา
    ออกกำลังกายเป็นประจำในแบบแอโรบิควันละ30 นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ตามคำแนะนำของแพทย์
    รับประทานยาเพื่อควบคุมความดันโลหิต หรือเบาหวานตามคำแนะนำของแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
    ระวังอย่ารับประทานยาใด ๆ เองโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ โดยเฉพาะยากลุ่มที่เป็นเสตียรอยด์ ยาฮอร์โมน หมั่นศึกษาหาความรู้ในการดูแลตนเอง
    ทำจิตใจให้สงบ และผ่อนคลายความเครียด ไม่โกรธ หรือโมโหง่าย
    ติดตามผลการรักษาอย่างสม่ำเสมอ



โรคเบาหวาน ที่ไม่หวานสมชื่อ อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/disease-conditions/278